เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 5. อนุสสติฏฐานสูตร
4. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ1
5. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ2
6. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ3
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาที่เลวทรามเลย
หิมวันตสูตรที่ 4 จบ
5. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน4
[25] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้
อนุสสติฏฐาน 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5

เชิงอรรถ :
1 ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
2 ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่
ธรรมที่เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า “นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด
นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์” (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/109)
3 ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/24/110)
4 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 9 (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า 420 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :456 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. อนุตตริยวรรค 5. อนุสสติฏฐานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์1ได้อย่างนี้แล
2. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
3. อริยสาวกระลึกถึงสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงสงฆ์ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
4. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ 5
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์
ได้อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงบรรลุนิพพานที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/25/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :457 }